ล้มป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เกือบยกครัว คาดอาถรรพณ์ผีโรง ไม่ได้เซ่นไหว้
ครอบครัวที่อ่างทอง ล้มป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เกือบทั้งบ้าน เชื่อคาดอาถรรพณ์ผีโรง หลังไม่ได้ทำการเซ่นไหว้ เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี
วันที่ 27 พ.ย. เกิดเรื่องแปลกที่บ้านเลขที่ 37 หมู่ 4 ตำบลสามง่าม อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เนื่องจากคนในบ้านทั้งหมดได้ล้มป่วย เชื่อว่าเป็นเพราะอาถรรพณ์ของผีโรง ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่บ้านหลังดังกล่าว พบกับ นางฉลวย สนธิพงษ์ อายุ 81 ปี
เล่าว่า ภายในบ้าน มีลูกหลานอาศัยอยู่ด้วยกัน 5 คน ป่วยเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต 4 คน โดยตนเองป่วยอัมพฤกษ์ ส่วน นางสมพิศ สนธิพงษ์ อายุ 56 ปี ลูกสาว ป่วยเป็นอัมพาตซีกขวา นายสำราญ สว่างแสง อายุ 78 ปี สามีของนางสมพิศ ป่วยเป็นอัมพาตซีกขวา นางสาวทุเรียน ทองบุญ อาย 48 ปี ป่วยเป็นอัมพาตซีกซ้าย มีคนเดียวที่ปกติ คือ นางสาวธนพร ทองบุญ อายุ 23 ปี นางฉลวย เล่าต่อว่า หลังจากที่ตนเองแต่งงานกับสามี จนมีลูกด้วยกัน 5 คน หวยลาว ก็ไม่ทราบมาก่อนว่า ทางบ้านของสามีเลี้ยงผีโรง จนมีคนที่เข้าทรงมาทักว่าทางครอบครัวของสามีนับถือผีโรง และแนะนำให้ทางครอบครัวทำพิธีเซ่นไหว้ ทุกเดือน 12 ข้างขึ้น แต่ต้องตรงกับวันพฤหัสบดี ของทุกปี ซึ่งทางครอบครัวได้ทำการเซ่นไหว้มาตลอด แต่หลังจากที่สามีเสียชีวิต คนในบ้านก็เริ่มล้มป่วย เป็นอัมพฤกษ์ รวมทั้งตนเอง กระทั่งปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไม่ดี ตนได้บอกกับ นางสาวทุเรียน ว่าถ้าไม่มีเงินก็ไม่ต้องไหว้ หลังจากนั้นไม่กี่วัน ตนก็เกิดล้มป่วยเป็นอัมพาต ทำให้ทำงานเลี้ยงครอบครัวไม่ได้ ซึ่งตนและชาวบ้านก็สงสัยว่า หรือเป็นเพราะพูดลบหลู่ว่าจะไม่เซ่นไหว้ผีโรง
ซึ่งการเลี้ยงผีโรง เป็นผีบรรพบุรุษของแต่ละบ้าน ตามความเชื่อ จะไม่ทำอันตราย หรือให้โทษใคร แต่ก็ต้องกราบไหว้บูชา เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญทุกหลังคาเรือน สืบทอดมาหลายร้อยปี เพราะเชื่อว่า ผีโรงจะดูแลคนในบ้านเป็นอย่างดี ไม่ให้เจ็บป่วยไข้
ด้าน นายมานะ ศรีเมฆ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 กล่าวว่า ตนเองสงสัยว่าการล้มป่วยของครอบครัวนี้ อาจจะเป็นที่กรรมพันธุ์ เพราะสังเกตจากเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมองกันทุกคน ซึ่งจะต้องดูว่าครอบครัวนี้กินอยู่กันอย่างไร ซึ่งหลังจากที่ทราบข่าว หน่วยราชการ ก็ได้เข้ามาช่วยเหลือตามระเบียบต่อไป
อึ้งเด็กมัธยมดื่มสุราในเทศกาลพุ่ง เฉลี่ยดื่มมากกว่ากลุ่มอื่นๆ
เวทีประชุมวิชาการสุราระดับชาติครั้งที่ 11 ภญ.อรทัย วลีวงศ์ นักวิชาการ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวว่า การได้รับสื่อโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอิทธิพลต่อการเริ่มต้นดื่มและการดื่มหนักของเด็กและเยาวชน
ปัจจุบันมีเทคนิคทางการตลาดของบริษัทดึงดูดเยาวชนสร้างนักดื่มหน้าใหม่ในยุคการค้าเสรีและยุคดิจิทัล มีการโฆษณาแพร่หลายในทุกทิศทางจนกลายเป็นปัญหาข้ามพรมแดน เพราะบริษัทเหล้ายักษ์ใหญ่ย้ายฐานการตลาดสู่ประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย หากประเทศใดไม่มีกฎหมายควบคุมจะต้องแบกรับผลกระทบที่ตามมาจากการบริโภคแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้น ขณะนี้ประชาคมโลกเห็นปัญหาและกำลังร่วมมือขับเคลื่อนข้อตกลงกฎระเบียบระหว่างประเทศจัดการ ด้าน รศ.ดร.สุรศักดิ์ ไชยสงค์ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า jetsada365 มาตรการการควบคุมที่ผ่านมาเรายังเน้นการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่สัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งมาจากการได้รับแจกฟรีที่เป็นวัฒนธรรมสังคมไทย รวมถึงการมีจุดจำหน่ายที่มากถึง 6 แสนจุดที่มีใบอนุญาต ที่ไม่มีใบอนุญาตก็มีอีกมาก และการจำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์ช่องทางใหม่ที่กำลังแพร่หลาย ทำให้การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ง่ายมาก ขณะที่มาตรการกฎหมายการเข้มงวดยังมีข้อจำกัดในการบังคับใช้ โดยเฉพาะบุคลากรที่มีไม่เพียงพอ อาจจะต้องสร้างระบบเครือข่ายช่วยกันดูแลป้องกัน ขณะที่นายวิษณุ ศรีทะวงศ์ ผู้จัดการแผนงานมูลนิธิเครือข่ายพลังสังคม
กล่าวว่า เทศกาลที่วัยเรียนเที่ยวมากที่สุด เมามากที่สุด มีผลกระทบมากที่สุดคือ สงกรานต์ รองลงมาคือปีใหม่ และลอยกระทง เหตุผลการดื่มในเทศกาลคือความสนุก ส่งผลให้มีการดื่มเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 6.8 โดยเฉพาะกลุ่มเด็กมัธยมดื่มมากที่สุดในเทศกาลถึง 13 เท่า จากการดื่มปกติ จากเดิมที่เด็กจะมาช่วยจัดกิจกรรมงานเทศกาล กลับกลายมาตั้งวงดื่มตั้งเช้าจนเย็น เฉลี่ยดื่มมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ที่ 7 เท่า แรงจูงใจทางการตลาดที่มีผล มากสุดคือคอนเสิร์ตและลานเบียร์ ที่ทำให้มีการดื่มเพิ่มขึ้น ที่น่าห่วงการเข้าถึงธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นำผลิตภัณฑ์อื่นๆไม่ว่าจะเป็นน้ำแร่ โซดาที่เชื่อมโยงให้เห็นถึงแบรนด์เข้าไปสนับสนุนกิจกรรมเทศกาลต่างๆเป็นกลยุทธ์เพิ่มกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะในเยาวชนมากขึ้น
Comments